เมนู

ก่อน มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น. พรรณนาอุปนิสสยปัจจัยในข้อว่า การรับ
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัยเป็นประโยชน์
นี้เพียงเท่านี้.
ก็จักขุเป็นอรรถชื่อว่า ทัสสนัตถะ (มีการเห็นเป็นอรรถ) โสต
เป็นอรรถชื่อว่า สวนัตถะ (มีการฟังเป็นอรรถ) ฆานะเป็นอรรถชื่อว่า
ฆานัตถะ (มีการสูดกลิ่นเป็นอรรถ) ชิวหาเป็นอรรถ ชื่อว่า สายนัตถะ
(มีการลิ้มรสเป็นอรรถ) กายเป็นอรรถชื่อว่า ผุสนัตถะ (มีการถูกกระทบ
เป็นอรรถ) มโนเป็นอรรถชื่อว่า วิชานนัตถะ (มีการรู้เป็นอรรถ).
พึงทราบวินิจฉัยคำว่า มีการเห็นเป็นอรรถเป็นต้นต่อไป
การเห็นเป็นอรรถของจักขุวิญญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จักขุวิญญาณ
นั้นจึงชื่อว่า ทัสสันตถะ จริงอยู่ การเห็นนั้นอันจักขุพึงให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ทัสสันตถะ (มีการเห็นเป็นอรรถ) แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น
ก็นัยนี้แหละ.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันจบวิบากจิต 16 ดวง ในวาทะของ
พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกพร้อมกับวิบากจิต 12 ดวง และอเหตุกจิต
8 ดวง เพียงเท่านี้.

วิบากจิต 2 ดวงในวาทะพระมหาทัตตเถระ


บัดนี้ เป็นกถามรรควิบากจิต 12 ดวง ในวาทะของพระมหาทัตตเถระ
ผู้อยู่ในโมรวาปี. ในวาทะนั้น ปัญหาในเมืองสาเกต การถือส่วนข้างมากและ
การแสดงเหตุเป็นไปตามปกติทั้งนั้น แต่พระเถระนี้เห็นข้อบกพร่องในจิตที่
เป็นอสังขาริกและสังขาริก จึงกล่าวว่า กรรมที่เป็นอสังขาริกย่อมให้วิบากที่
เป็นอสังขาริกไม่ให้วิบากที่เป็นสสังขาริก แม้กรรมที่เป็นสสังขาริกก็ย่อมให้
วิบากเป็นสสังขาริกเท่านั้นไม่ให้วิบากเป็นอสังขาริก และพระเถระนี้ไม่กล่าว